ถอดรากความทุกข์ สุขและสำเร็จได้ด้วยตัวคุณเอง
วันนี้คุณรู้เท่าทันทุกข์แล้วหรือยัง
โดย : วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์
สำนักพิมพ์ : อมรินทร์ ธรรมะ
หน้า : 99 หน้า
ทุกข์ การดับทุกข์ สติ สามคำนี้ปรากฏในพระไตรปิฎกอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้เพราะไม่มีมนุษย์คนใดไม่เป็นทุกข์ และเมื่อเป็นทุกข์ไม่ว่าจะลักษณะใด มนุษย์ย่อมแสวงหาทางดับทุกข์ แต่มนุษย์เราใช้เวลาเรียนรู้ลองผิดลองถูกนานเหลือเกินกว่าจะพบว่า หัวใจสำคัญที่นำไปสู่การดับทุกข์ไม่ได้อยู่ที่ทรัพย์สินเงินของหรือข้าวของราคาแพง หากแต่หัวใจแห่งการดับทุกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ก็คือ สติ (ทุกข์ + สติ = การดับทุกข์) สมการเพื่อการดับทุกข์สามารถเขียนได้ง่ายๆ เช่นนี้เอง
คนเรามักสร้างบ่อเกิดความความทุกข์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อัตตา : ต้นตอก่อทุกข์จากความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง ซึ่งต้องใช้การตระหนักรู้สู้กิเลส เพื่อให้รู้เท่าทันและหยุดยั้งต้นเหตุของความทุกข์นั้นๆ และการตั้งสติก่อนสตาร์ต ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้สติในกิจวัตรประจำวัน เช่น การกิน ยืน นั่น นอน เพื่อลดความผิดพลาดอันเกิดจากการกระทำที่ไม่ได้ยั้งคิด รวมถึงการสร้างพลังการให้อภัย หรือที่เรียกกันในทางพุทธศาสนาว่าอภัยทาน ด้วยขั้นตอนการปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อการเข้าใจที่ลึกซึ้ง