ตำราพิชัยสงคราม ขงเบ้ง
ISBN : 9789741310821
โดย : ขงเบ้ง / อมร ทองสุก
ขนาด / หนัก : 141 x 216 x 16 มม. / 300 กรัม
จำนวนหน้า : 240 หน้า
ข้อมูลอื่นๆ : ปกอ่อน / ขาวดำ
ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง เป็นคัมภีร์ที่ได้ตกผลึกความคิดของขงเบ้งจากประสบการณ์การรบนับร้อยสนาม ได้ผ่านการเชือดเหลี่ยมเฉือนคมกับนักการทหารที่มีชื่อเสียงที่สุดในแผ่นดิน เช่น โจโฉ ซุนกวนและจิวยี่มาแล้ว ซึ่งเราต่างทราบดีว่า การทำสงครามจะต้องเดิมพันด้วยความอยู่รอดปลอดภัยในชีวิตของตนและหมู่ทหาร ดังนั้นผู้บริหารกองทัพซึ่งครองกำลังพลมากถึงหลายแสนชีวิต จึงต้องมีความคิดอันเฉียบคม การตัดสินใจอันฉับไว และการวางกลยุทธ์อันแยบคาย เพื่อให้กองกำลังฝ่ายตนได้รับชัยชนะโดยสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินให้น้อย ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นการได้ศึกษาตำราพิชัยสงครามของขงเบ้ง ก็คือการซึมซับประสบการณ์การวางกลยุทธ์อันโชกโชนของขงเบ้ง เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการปกครองและการบริหารองค์กรโดยสมบูรณ์ ตำราพิชัยสงครามขงเบ้งมีจุดเด่นที่น่าสนใจอยู่หลายประการ คือ
๑.ตำราพิชัยสงครามขงเบ้งจะแบ่งออกเป็นสองหมวดใหญ่คือ หมวดที่ว่าด้วยแม่ทัพหนึ่ง ซึ่งเป็นหมวดที่เน้นเรื่องการปกครองบุคลากรเป็นหลัก และหมวดที่ว่าด้วยประศาสโนบาย ๑๖ อีกหนึ่ง ซึ่งเป็นหมวดที่ว่าด้วยปรัชญาแห่งการปกครองประเทศหรือการบริหารองค์กรของ ผู้นำ ๑๖ ประการ
๒.ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เนื้อหาที่เกี่ยวกับการวางยุทธศาสตร์ และมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศ โดยเนื้อหาทั้งสามส่วนยังสามารถสอดประสานประยุกต์ใช้กันไปมาได้อย่างกลมกลืน
๓.เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง จะมีลักษณะที่สามารถใช้เป็น กฎ ในการประยุกต์ใช้กับการปกครองประเทศ การบริหารกองทัพ การบริหารองค์กร และการวางแผนยุทธศาสตร์ทั้งในเชิงนโยบายระดับชาติ และแผนการตลาดในระดับห้างร้านได้อย่างกลมกลืน ดังนั้นตำราพิชัยสงครามขงเบ้งจึงมีความร่วมสมัยและความเป็นสากลที่สามารถนำ ไปใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย และทุกระดับชั้นในสังคม
๔.ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง ไม่เพียงแต่มีความเหมาะใช้ในระดับองค์กรทุกระดับชั้นเท่านั้น หากยังมีความเหมาะใช้ในระดับปัจเจกชน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในชีวิตประจำวัน อย่างมีสติ ตามแบบฉบับวิธีคิดสไตล์ขงเบ้ง เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตได้โดยสมบูรณ์
คำนิยม
ถ้าเทียบกับยุคปัจจุบัน บทบาทของขงเบ้งในเรื่องสามก๊กที่พวกเราคุ้นเคยกันก็เห็นจะเปรียบเป็น "CEO" ของแคว้นจ๊กก๊ก เพราะดำรงตำแหน่งนายกฯ ควบกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด ขงเบ้งได้นำทัพบุกแคว้นเว่ยของโจโฉถึง 6 ครั้ง แม้ว่าแคว้นของตนจะด้อยกว่าด้วยประการทั้งปวง ผมวิเคราะห์มากเกมนี้ของเขงเบ้งว่าเป็นการรุกเพื่อรับ เนื่องจากจ๊กก๊กเป็นแคว้นที่เล็ก มีไพร่พลและทรัพยากรน้อยกว่า การรุกจะทำให้เป็นผู้นำเกม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่เหนือชั้นกว่าการตั้งรับ เพราะมีแต่แพ้กับเสมอเท่านั้น