คัมภีร์คนฟังคน The Power Listening
ISBN : 9786169385561
โดย : ดร.พรรณทิพา ขเนศร์
สำนักพิมพ์ : ไรเตอร์โซล
อื่นๆ : 252 หน้า
ลักษณะธรรมชาติของมนุษย์คือการอยากรู้อยากเห็นและการเริ่มแสวงหาความรู้ แสวงหาความจริงจากสิ่งใหม่ จากประสบการณ์และการสังเกต ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาต้องใช้ใจเป็นเครื่องมือในการฟังที่สำคัญสุดในการสนองตอบธรรมชาติของมนุษย์ ผ่านการศึกษาอายตนะทั้ง 5 หู ตา จมูก ปาก การสัมผัส โดยใช้ตัวสื่อนำหลัก คือ ใจของคน
ดังนั้น การฟังที่จะเพิ่มพูนประสิทธิภาพการเข้าใจชีวิต เข้าใจโลกและผู้คนได้นั้นจำเป็นต้องฟังผ่าน 5 ทางแห่งภาษา
- ภาษากาย
- ภาษาพูด
- ภาษาเขียน
- ภาษาภาพ
- ภาษาใต้ภูเขาน้ำแข็งหรือภาษาตัวตน
ทั้ง 5 ประการนี้ต้องฟัง ด้วยภาษา “ใจสู่ใจ” คือ เครื่องมือหลักแห่งการเรียนรู้ แห่งการเข้าใจ เข้าถึง และนำมาใช้เป็นตัวช่วยให้เกิดการฟังแห่งเสียงในใจ หรือตัวตน ของคุณเองถึง True Self กายเนื้อที่เป็น Physical Body และกายลม Sensation ที่สามารถสัมผัสได้ถึงการเคลื่อนของใจที่ประกอบด้วย จิตและเจตสิกให้มีเกิดความเบาบางของใจที่เคลื่อนกลับมาเป็นจิตเดิมแท้ที่เป็นจิตประภัสสร จิตแห่งความสงบ สว่าง สบายในใจ ตลอดเวลาเปี่ยมด้วยสุขที่เป็นอุเบกขาคือการสิ้นคิด หรือ อะไรก็ได้ “ช่างแม่ง” “ช่างหัวมัน” “ทุกอย่างดีหมด” เพราะการฟังคือการเจริญสติเป็นการปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลาที่มีภาษาแห่งการฟังเข้ามาทุกทาง ให้คุณฝึกฝนกระทั่งคุณตัดคำว่า “อัตตาตัวตน” ให้ลดลง เรียกได้ว่า“การลดความยึดมั่นถือมั่น” คือการตัดสักกายทิฐิในสังโยชน์ 10 เป็นหนึ่งในสามของการเดินทางสู่ “โสดาบัน”
คือการฟังในระดับที่ ฟังด้วยใจสู่ใจ ด้วยใจที่สุข สงบ สว่างเป็นฐานแห่งความสุขของผู้พูด (Listen your Cittra) การฟังที่เชื่อมต่อกับใจของผู้พูดและผู้ฟังเป็นหนึ่งเดียวกันที่เรียกว่า We are Oneness ผู้ฟังมีสติ สัมปชัญญะ อยู่กับผู้พูดตลอดเวลา มีความเชื่อมั่นในศักยภาพ คุณค่าของผู้พูดด้วยหัวใจแห่งความรักเมตตาเป็นพลังที่โอบอุ้มด้วยความรักที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditional Love) เปรียบดั่งคำพูดที่ว่า “ โลกทั้งใบหายไป มีแต่ผู้พูดเท่านั้น รวมทั้งตัวตนของผู้ฟังก็หายไป” เมื่อเกิดสิ่งนี้ คือการฟังที่มองเห็นธรรมในตน ที่เรียกว่า “เข้าใจชีวิต” ขันธ์5 คือ การเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงเป็นการฟังเสียงแห่ง จิต เจตสิก รูปของตนเอง เรียกได้ว่า “การฟังขันธ์ 5” = การปฏิบัติธรรมภายใต้การฟัง เสียงจากสรรพสิ่งรวมทั้งตัวเราและจักรวาล ด้วยจิตที่ว่าง คือการที่จิตกลับเป็นจิตเดิมแท้